เรียนรู้ประวัติศาสตร์ Geneva seal สัญลักษณ์ทรงคุณค่า ผ่าน Patek Philippe Geneve

29 December 2023

บนโลกใบนี้มีแบรนด์นาฬิกาเกิดขึ้นมามากมาย พร้อมรองรับความต้องการหลากหลายตลาด แต่สำหรับนาฬิการะดับ Hi-End ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสุดยอดของโลกแห่งเรือนเวลา ทั้งในด้านของรูปลักษณ์ นวัตกรรม ชื่อเสียง การออกแบบและความทรงคุณค่า เคยสงสัยไหมว่าเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่านาฬิกาแบรนด์หรูเหล่านั้นควรค่าที่จะอยู่ในกลุ่ม Hi-End ด้วยมาตรฐานแบบใด?

ดังนั้นในบทความนี้ Siam Watch Club จะพาทุกท่านไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของ Geneva seal  ตราประทับอันทรงคุณค่าที่อยู่คู่นาฬิกาชั้นสูงมาอย่างยาวนาน แม้ว่าในปัจจุบันตราเจนีวาไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายเหมือนในอดีต เช่น Patek Philippe ก็เลือกที่จะถอนตัวออกไป แต่มันก็ยังกลายเป็นหนึ่งในตำนานที่มาพร้อมกฎอันเข้มงวด ที่กวดขันให้อุตสาหกรรมนาฬิกายกระดับการผลิตให้เจริญก้าวหน้าอย่างยิ่งยวด

Geneva seal สัญลักษณ์ทรงคุณค่า ผ่าน Patek Philippe Geneve
ต้นกำเนิด Geneva seal

ในตอนต้นของศตวรรษที่ 17 ณ ตอนนั้นเมือง Geneva ถือเป็นศูนย์กลางการผลิตนาฬิกาของโลก มีชื่อเสียงด้านการผลิตนาฬิกาชั้นดีออกมามากมาย เหล่าช่างนาฬิกาต่างหลั่งไหลเข้ามาจากที่อื่นจำนวนมากเพื่อทำงานในอุตสาหกรรมนาฬิกาเช่นกัน เพื่อควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานนาฬิกาสวิส สมาคมผู้ผลิตนาฬิกาแห่งสวิตเซอร์แลนด์ จึงยื่นเรื่องไปให้ทางรัฐบาลออกกฎในปี 1886 ให้นาฬิกาที่ผลิตในแคว้นเจนีวา ต้องผลิตตามข้อบังคับด้านเทคนิค 12 ประการ จึงจะได้ตรารับรองเครื่องหมายคุณภาพ “Poincon De Geneve” หรือ “Geneva Seal” ประทับติดกับนาฬิกา
ได้แก่

1. งานฝีมือของส่วนประกอบเครื่อง รวมทั้งกลไกเพิ่มเติมต่างๆ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานนาฬิกา ของสำนักงานตรวจสอบแห่งเจนีวา ชิ้นโลหะต้องผ่านการขัดเงา ผิวด้านหน้าที่มองเห็นได้ต้องขัดให้เรียบ หัวสกรูต้องผ่านการขัดจนขึ้นเป็นเงา รวมถึงบริเวณร่องสกรูต้องได้รับการขัดแต่งขอบ
2. ส่วนเคลื่อนไหวทั้งหมดต้องติดตั้งตามแนวที่กำหนด และหลีกห่างจากทับทิมประดับ ส่วนทางด้านสัน อัญมณีนั้นต้องติดตั้งโผล่ขึ้นมาครึ่งลูกจากช่องที่ได้รับการขัดเงาไว้ ไม่จำเป็นต้องมีตัวหยุดสำหรับล้อศูนย์กลางที่แผ่นฐาน
3. ส่วนของบาลานซ์สปริงควรปักยึดลงในแผ่นร่อง ด้วยดุมที่มีหัวและบ่ารูปวงกลม โดยอนุญาตให้ใช้ดุมแบบเลื่อนขยับได้
4. สามารถเลือกใช้เข็มชี้แบบแยกส่วน หรือแบบประกอบโดยมีระบบจับยึด ยกเว้นในคาลิเบอร์ ซึ่งบางเป็นพิเศษ ไม่จำเป็นต้องมีระบบจับยึด
5. ระบบควบคุม(balances) ที่มีการหมุน แบบรัศมีแปรผันอนุญาติให้ใช้ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดข้อ 1
6. ล้อเฟืองตามแนวต่าง ๆ ต้องได้รับการขัดเกลา ทั้งด้านบนและล่าง สำหรับเฟืองที่หนา 1.5 มม.หรือบางกว่านั้นจำเป็นต้องขัดเงา สำหรับด้านสันให้ใช้การขัดเกลาด้านเดียวได้
7. ส่วนประกอบของเฟือง เช่น ก้านเดือย แกน และ ผิวหน้าของเฟืองเล็กที่เว้นไว้ต้องได้รับการขัดเงา
8. เฟืองต้องมีน้ำหนักเบา และหนาไม่เกิน 0.16 มม. ในคาลิเบอร์ขนาดใหญ่ และหนาไม่เกิน 0.13 มม. ในคาลิเบอร์ที่บางกว่า 0.18 มม. ผิวหน้าด้านล้อคต้องได้รับการขัดเงาเช่นกัน
9. มุมที่กวาดโดยกระเดื่องต้องถูกจำกัดด้วยตัวกั้น ขอบต้องเป็นแบบตายตัว เพื่อกันการดันของเข็ม หรือดุมต่าง ๆ
10. กลไกเคลื่อนไหวที่ต่อเข้ากับระบบกันกระเทือน สามารถยอมรับได้
11. ล้อเฟืองRachet และล้อเฟืองของเม็ดมะยม ต้องได้รับการปรับแต่ง ตามแบบที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้
12. ไม่อนุญาตให้ใช้ลวดสปริง
การที่จะได้ครอบครองสัญลักษณ์ Geneva seal ในยุคนั้น แบรนด์สามารถยื่นคำร้องต่อ Geneva School Of Watchmaking ซึ่งในปัจจุบันถูกเปลี่ยนเป็น TIMELAB (Foundation Council of the Geneva Laboratory of Horology and Microengineering) แต่ด้วยมาตรฐานอันสูงลิบที่บัญญัติไว้ 12 ประการ ทำให้มีนาฬิกาเพียงไม่กี่แบรนด์เท่านั้นที่ผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจนได้รับการรับรอง ให้มีตราอาร์ม Geneva seal ประทับอยู่บนนาฬิกาหรู
ตราเจนีวาไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันเหมือนในอดีต หนึ่งในผู้ใช้รายใหญ่ที่สุดคือ Patek Philippe ได้ถอนตราอาร์มออกจากนาฬิกาในปี 2009 เพื่อหันมาใช้ Patek Philippe Seal เพื่อเป็นมาตรฐานภายในแบรนด์เอง ไม่มีใครทราบเหตุผลว่าทำไม แต่มีความคิดเห็นที่น่าสนใจว่ามาตรฐานการผลิตที่เข้มงวดและมีอายุยาวนานกว่าร้อยปี ควรได้รับการปรับปรุงให้เท่าทันเทคโนโลยีสมัยใหม่หรือไม่
อย่างไรก็ตาม นอกจาก Patek Philippe ที่คว้าสัญลักษณ์ Geneva seal มาครอบครองได้สำเร็จแล้ว ยังมีอีก 6 แบรนด์ดังที่สอบผ่านมาตรฐานหฤโหดเช่นกัน ได้แก่ Cartier, Roger Dubuis, Chopard, Vacheron Constantin, Ateliers DeMonaco, Louis Vuitton โดยแบรนด์เหล่านี้ยังยึดถือและผลิตนาฬิกาตามกฎบัญญัติทั้ง 12 ข้อเรื่อยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

แม้อายุของ 12 กฎเหล็กของ Geneva seal จะเป็นเวลากว่าร้อยปีแล้ว แต่สัญลักษณ์อันทรงคุณค่านี้ยังคงทำหน้าที่เป็นตัวบ่งบอกมาตรฐานอันคลาสสิกของเมืองเจนีวา เปรียบเสมือนเป็นการยกระดับวงการนาฬิกา Hi-End ให้สูงขึ้นไปอีกขั้น เป็นสัญลักษณ์ทรงคุณค่าที่สร้างความภาคภูมิให้กับทั้งผู้ผลิตและผู้สวมใส่
รวมเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายทรงคุณค่านี้ ผ่านนาฬิกาที่ถูกประทับตราลงบนกลไกอันสวยงาม จาก Siam Watch Club ร้านรับซื้อขายนาฬิกาแบรนด์หรูที่ได้รวบรวมเรือนเวลาต่าง ๆ ไว้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น Patek Philippe, Cartier, Roger Dubuis, Chopard, Vacheron Constantin เอาไว้ รวมถึงนาฬิกาแบรนด์อื่นอีกมากมาย นอกจากนั้นเรายังรับซื้อ แลกเปลี่ยน ให้คำปรึกษา อย่างครบวงจรในที่เดียว

บทความนาฬิกาอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Other Blogs

omega speedmaster chronoscope olympic

Omega นับถอยหลังสู่ Olympics Paris 2024 ด้วยการเปิดตัวนาฬิการุ่นพิเศษ

Omega นับถอยหลัง 100 วันสู่การแข่งขันกีฬา Olympics 2024 ที่กรุงปารีส ด้วยการเปิดตัวนาฬิการุ่นพิเศษ 2 รุ่นเพื่อฉลองโอกาสครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งทาง Siam Watch Club จะขอพาทุกท่านไปชมนาฬิกาทั้งสองรุ่นนี้กัน

Read More »
Rolex Gen Z trend

ตลาดนาฬิกา Rolex เปลี่ยนโฉม: คนรุ่น Gen Z ขับเคลื่อนเทรนด์ใหม่

รุ่นลุง รุ่นป้าเตรียมตัวหลีกทาง หนุ่มสาวรุ่น Gen Z พร้อมทุ่มเงินเพื่อเป็นเจ้าของนาฬิกาหรู Rolex วันนี้ Siam Watch Club จะนำรายงานการสำรวจเทรนด์การซื้อขายนาฬิกาหรูของหนุ่มสาว Gen Z ซึ่งกำลังจะกลายเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีอิทธิพลของแบรนด์ดังทั้งหลาย

Read More »
Roger Dubuis hommage condottieri

ทำไม Roger Dubuis Hommage Condottieri จึงเป็นที่ต้องการของนักสะสม

แม้ช่วงหลังๆ Roger Dubuis จะผลิตนาฬิกาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แต่นาฬิกาวินเทจที่เน้นความเรียบง่ายในยุคแรกๆ อย่าง Hommage Condottieri นั้นกลับเป็นที่สนใจ วันนี้ทาง Siam Watch Club จึงขอพาทุกท่านไปดูว่าทำไมนาฬิการุ่นนี้จึงเป็นที่ต้องการของบรรดานักสะสม

Read More »

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ Geneva seal สัญลักษณ์ทรงคุณค่า ผ่าน Patek Philippe Geneve

Patek Philippe Geneve

Share This Post

Subscribe To Our Newsletter

Get updates and learn from the best

More To Explore

omega speedmaster chronoscope olympic
Articles

Omega นับถอยหลังสู่ Olympics Paris 2024 ด้วยการเปิดตัวนาฬิการุ่นพิเศษ

Omega นับถอยหลัง 100 วันสู่การแข่งขันกีฬา Olympics 2024 ที่กรุงปารีส ด้วยการเปิดตัวนาฬิการุ่นพิเศษ 2 รุ่นเพื่อฉลองโอกาสครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งทาง Siam Watch Club จะขอพาทุกท่านไปชมนาฬิกาทั้งสองรุ่นนี้กัน

Rolex Gen Z trend
Articles

ตลาดนาฬิกา Rolex เปลี่ยนโฉม: คนรุ่น Gen Z ขับเคลื่อนเทรนด์ใหม่

รุ่นลุง รุ่นป้าเตรียมตัวหลีกทาง หนุ่มสาวรุ่น Gen Z พร้อมทุ่มเงินเพื่อเป็นเจ้าของนาฬิกาหรู Rolex วันนี้ Siam Watch Club จะนำรายงานการสำรวจเทรนด์การซื้อขายนาฬิกาหรูของหนุ่มสาว Gen Z ซึ่งกำลังจะกลายเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีอิทธิพลของแบรนด์ดังทั้งหลาย

Do You Want To Boost Your Business?

drop us a line and keep in touch