จุดเริ่มต้น TAG Heuer สู่แบรนด์ในมือ Frédéric Arnault CEO ที่ทั่วโลกจับตามอง

31 ตุลาคม 2023

ในปี 2023 นี้ถ้าคิดถึงนาฬิกาสวิสแบรนด์หรูที่ติดเทรนด์ไปทั่วแพลตฟอร์มโซเชียลตลอดทั้งปี คงหนีไม่พ้นนาฬิกาแบรนด์ที่ขึ้นชื่อเรื่องความสปอร์ต ที่มีจุดกำเนิดจากการพัฒนานาฬิกาสำหรับนักแข่งรถ และเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงในด้านนาฬิกาสปอร์ตโครโนกราฟที่โดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมเรือนเวลา นั่นก็คือ ‘TAG Heuer’ ที่ทุกคนคุ้นชื่อดีว่าเป็นหนึ่งในแบรนด์ลูกของ LMVH ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ Frédéric Arnault CEO หนุ่มที่มีข่าวคราวซุบซิบกับไอดอลสาวระดับโลกอย่าง ลิซ่า Blackpink

ทำให้ชื่อเสียงของแบรนด์พุ่งทะยานสุดขีด แม้แต่คนที่ไม่ได้สนใจนาฬิกาเป็นพิเศษต่างก็มีความสนใจต่อนาฬิกาแบรนด์นี้และตัว Frédéric Arnault เป็นอย่างมาก แต่ก่อนที่เราจะพูดถึง TAG Heuer ในยุคที่อยู่ในความดูแลของ CEO หนุ่มคนนี้ Siam Watch Club จะพาทุกท่านไปเจาะลึกต้นกำเนิดและความสำคัญของ TAG Heuer ว่านอกจากเป็นนาฬิกามอเตอร์สปอร์ตแล้ว ยังมีเรื่องราวและรายละเอียดอะไรที่น่าสนใจ จนทำให้กลายเป็นแบรนด์ที่โดดเด่นจนถึงปัจจุบัน

oscillating pinion สิทธิบัตรของ Heuer ในปี 1887
จุดเริ่มต้นของ TAG Heuer

เรื่องราวของ TAG Heuer เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 19 ก่อนจะมีการจดเครื่องหมายทางการค้าของแบรนด์เลยด้วยซ้ำ โดย Edouard Heuer ได้ก่อตั้งธุรกิจของเขาชื่อว่า The Heuer Watch Company ในปี 1860 โรงงานดั้งเดิมตั้งอยู่ในเมือง Saint – Imier ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นี่คือจุดเริ่มต้นที่ Heuer เริ่มทำงานเกี่ยวกับอุปกรณ์บอกเวลาคุณภาพสูง ใช้เวลาไม่นานเขาก็ได้สร้างชื่อเสียงให้ตัวเองผ่านคุณภาพชั้นเลิศ ฝีมืออันน่าทึ่งและความแม่นยำของเครื่องมือบอกเวลาที่เขาผลิตขึ้นมา

นอกเหนือจากการสร้างนาฬิกาที่มีความเที่ยงตรงสูงแล้ว Heuer ยังคิดค้น ปรับปรุง พัฒนานาฬิกาต้นแบบที่ตัวเองทำไปเรื่อย ๆ จนได้จนสิทธิบัตรหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญที่สุดในปี 1887 คือ oscillating pinion ซึ่งเป็นกลไกที่คนใช้สามารถกดเริ่มและหยุดได้ทันทีเพียงกดปุ่ม หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อนาฬิกาจับเวลานั่นเอง นอกจากนั้นกลไกของ Heuer ชิ้นนี้ยังถูกขนานนามว่าเป็นนวัตกรรมนาฬิกาจับเวลาที่สมบูรณ์แบบที่สุดชิ้นหนึ่งของโลก
Heuer Mikrograph นาฬิกาจับเวลาที่ถูกใช้ในโอลิมปิก Antwerp (1920) Paris (1924) Amsterdam (1928)
เส้นทางสู่ Sport Luxury

หลังจาก Edouard Heuer ได้ผลิตเครื่องมือจับเวลาที่มีความแม่นยำสูงขึ้นมา ความต้องการของมันก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับการพัฒนาเครื่องมือที่ไม่หยุดยั่ง จนถึงปี 1916 Heuer Mikrograph ถูกเปิดตัวในฐานะนาฬิกาจับเวลาแบบกลไกเรือนแรกที่สามารถวัดเวลาภายใน 1/100 ของวินาทีได้ นาฬิกาเรือนนี้ได้รับการพัฒนาโดย Charles-Auguste Heuer ลูกชายของ Heuer จากนั้นเส้นทางของกีฬาและนาฬิกาก็เวียนมาพบกัน หลังนาฬิกาจับเวลา Heuer เริ่มปรากฏในการแข่งขันกีฬาหลายประเภท รวมถึงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในช่วงทศวรรษที่ 1920 Heuer ทำหน้าที่เป็นผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เมือง Antwerp (1920) Paris (1924) Amsterdam (1928)
การรับช่วงต่อของทายาท

อีกสามทศวรรษต่อมา Heuer ได้ผลิตผลงานที่หน้าทึ่งขึ้นมาอีกชิ้น หลังจาก Walter Hayes อดีตประธาน Abercrombie & Fitch ขอให้ Charles-Auguste Heuer ผลิตนาฬิกาที่สามารถทำนายกระแสน้ำได้ นี่จึงเป็นครั้งแรกที่ Jack Heuer เหลนชายวัย 15 ปีของผู้ก่อตั้งมีส่วนร่วมในการผลิตนาฬิกา

จากนั้นไม่นาน Jack เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปี 1959 เขาย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาและรับหน้าที่ดูแลธุรกิจของ Heuer สาขาอเมริกา โดยที่เขาสามารถสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่น่าเสียดายเพราะผ่านไปได้สามปีเท่านั้น Jack ได้รับข่าวร้ายว่าลุงของเขาเสียชีวิตลงแล้ว โดยก่อนหน้านั้นมีข่าวลือว่าลุงต้องการขายบริษัททอดตลาด เมื่อได้ยินดังนั้นเขาจึงตัดสินใจกู้เงินเพื่อซื้อหุ้นบางส่วนของลุงเอาไว้ และด้วยหุ้นที่ได้รับจากพ่อ ทำให้ Jack กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และดำรงตำแหน่งสูงสุดใน Heuer Watch
Carrera Panamericana
เส้นทางสู่มอเตอร์สปอร์ต

เมื่อ Jack กลายมาเป็นผู้นำ สิ่งน่าตื่นเต้นมากมายก็ได้เกิดขึ้นกับบริษัท Heuer ได้มีการเปิดตัว Heuer Autavia ในปี 1961 ตามด้วย Heuer Carrera ในปี 1963 ซึ่งเป็นนาฬิกาสปอร์ตโครโนกราฟ โดย Carrera ได้ชื่อมาจาก Carrera Panamericana ซึ่งเป็นการแข่งขันรถที่อันตรายที่สุดในเม็กซิโก Carrera จึงได้รับการพัฒนาเพื่อนักแข่งรถโดยเฉพาะ จึงทำให้ในเวลาต่อมา Carrera กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งอุตสาหกรรมนาฬิกาอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของแบรนด์มาจนถึงทุกวันนี้อีกด้วย
McQueen Monaco Steve McQueen สวมนาฬิกาเรือนนี้ในภาพยนตร์เรื่อง Le Mans
จนมาสู่นาฬิกาอีกเรือนที่ช่วงชิงภาพลักษณ์อันน่าจดจำของ Carrera ไป นั่นก็คือ Heuer Monaco ที่เปิดตัวในปี 1969 ชื่อของมันมาจากการแข่งขัน Formula 1 ตัวเรือนเป็นทรงสี่เหลี่ยม แปลกตา ดูล้ำยุคกว่านาฬิกาแบรนด์หรูอื่น ๆ พร้อมการใช้ Caliver 11 ซึ่งเป็นโครโนกราฟแบบสปอร์ตอัตโนมัติรุ่นแรก อย่างไรก็ตาม Monaco ไม่ได้สร้างชื่อเสียงให้ Heuer ในทันที จนกระทั่งในปี 1971 Steve McQueen สวมนาฬิกาเรือนนี้ในภาพยนตร์เรื่อง Le Mans ทำให้ Heuer Monaco กลายเป็นที่สนใจภายในชั่วข้ามคืน จนทำให้บางคนเรียกนาฬิกาคอลเลคชันนี้ว่า “McQueen Monaco”
วิกฤตสั่นคลอน

หลังประสบความสำเร็จอย่างเหลือเชื่อในทศวรรษที่ 1960 -1970 ในราว ๆ สิบปีต่อมาหลังการเข้ามาของ The Quartz Crisis วิกฤตนาฬิกาควอตซ์จากญี่ปุ่นไล่ทุบนาฬิกาสวิสหลายแบรนด์ไปจนเกือบปิดตำนาน เพราะในช่วงปี 1970s นาฬิกาจากแบรนด์ญี่ปุ่นอย่าง Seiko ขึ้นครองตำแหน่งผู้นำตลาดของนาฬิกาโลก

ส่งผลให้ Jack ถูกขอให้ลาออกจากตำแหน่ง CEO และในปี 1985 บริษัทถูกขายให้กับ Tag Group และเปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Tag Heuer ก่อนที่ในปี 1999 Tag Group ได้ขาย Tag Heuer ให้กับ LMVH ในราคา 740 ล้านดอลลาร์
Frédéric Arnault ทายาท LMVH
Tag Heuer ในมือของ Frédéric Arnault

Frédéric Arnault ได้มีโอกาสทำงานให้กับ Tag Heuer ตั้งแต่ปี 2017 ในตำแหน่ง Head of connected technologies เป็นเวลาหนึ่งปี และได้เลื่อนตำแหน่งเป็น Strategy and Digital Director เป็นเวลาเกือบสองปี

จากนั้น Frédéric ในวัย 26 ปี ได้เข้ารับตำแหน่ง CEO ในปี 2020 ในฐานะผู้นำทางธุรกิจเขาได้สร้างแนวทางการเติบโตให้กับแบรนด์ผ่านแนวคิดความคลาสสิกที่ต้องเติบโตไปพร้อมเทคโนโลยีสมัยใหม่
Carrera Plasma รุ่น Limited Edition
เขาได้วางกลยุทธ์ให้ Tag Heuer สามารถวางขายนาฬิกา Carrera Plasma รุ่น Limited Edition ได้ในราคาราว ๆ 17 ล้านบาท ควบคู่ไปกับการจำหน่ายนาฬิกาที่ให้คนทั่วไปจับต้องได้อย่างรุ่น Formula one ในราคา 50,000 บาท

มีการปรับกลยุทธ์หน้าร้าน ลดจุดจำหน่ายจาก 4,000 แห่ง เหลือเพียง 2,000 แห่ง เพิ่มจำนวนร้านบูติกที่ขายเฉพาะ Tag Heuer ขึ้นแทน เพื่อยกระดับโพซิชันของแบรนด์ให้สูงขึ้น
TAG Heuer Connected x Super Mario Limited Edition
Frédéric พยายามปรับเปลี่ยนให้ Tag Heuer มุ่งเน้นไปที่ตลาด Smart Watch จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมามีการร่วมมือกับแบรนด์ต่าง ๆ จนเกิดเป็นนาฬิกา Limited Edition เช่น TAG Heuer Carrera Porsche และ TAG Heuer Connected x Super Mario Limited Edition

ด้วยกลยุทธ์เหล่านี้หลังจาก Frédéric เข้ามาบริหารเพียง 1 ปี ยอดขายของ Tag Heuer อยู่ที่ 2.8 หมื่นล้านบาท เป็นยอดขายที่อยู่อันดับที่ 9 ของวงการ และตัวเขาเองมีเป้าหมายที่จะพาแบรนด์ไต่ขึ้นไปยังอันดับที่ 4 ของนาฬิกาสวิสให้ได้

จากอดีตถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า Tag Heuer ได้เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนานเข้ากับนวัตกรรมระดับแนวหน้า ตลอดเส้นทาง 160 ปีของนาฬิกาแบรนด์นี้เปี่ยมไปด้วยความประทับใจ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์และนวัตกรรมที่หาใครเทียบเคียงยาก ผ่านการจับจอง เป็นเจ้าของ นาฬิกา Tag Heuer หลากหลายคอลเลคชันผ่านเว็บไซต์ของ Siam Watch Club นอกจากนั้นเรายังรับซื้อ แลกเปลี่ยน นาฬิกาแบรนด์หรูจากทั่วทุกมุมโลกอีกด้วย

บทความนาฬิกาอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Other Blogs

omega speedmaster chronoscope olympic

Omega นับถอยหลังสู่ Olympics Paris 2024 ด้วยการเปิดตัวนาฬิการุ่นพิเศษ

Omega นับถอยหลัง 100 วันสู่การแข่งขันกีฬา Olympics 2024 ที่กรุงปารีส ด้วยการเปิดตัวนาฬิการุ่นพิเศษ 2 รุ่นเพื่อฉลองโอกาสครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งทาง Siam Watch Club จะขอพาทุกท่านไปชมนาฬิกาทั้งสองรุ่นนี้กัน

Read More »
Rolex Gen Z trend

ตลาดนาฬิกา Rolex เปลี่ยนโฉม: คนรุ่น Gen Z ขับเคลื่อนเทรนด์ใหม่

รุ่นลุง รุ่นป้าเตรียมตัวหลีกทาง หนุ่มสาวรุ่น Gen Z พร้อมทุ่มเงินเพื่อเป็นเจ้าของนาฬิกาหรู Rolex วันนี้ Siam Watch Club จะนำรายงานการสำรวจเทรนด์การซื้อขายนาฬิกาหรูของหนุ่มสาว Gen Z ซึ่งกำลังจะกลายเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีอิทธิพลของแบรนด์ดังทั้งหลาย

Read More »
Roger Dubuis hommage condottieri

ทำไม Roger Dubuis Hommage Condottieri จึงเป็นที่ต้องการของนักสะสม

แม้ช่วงหลังๆ Roger Dubuis จะผลิตนาฬิกาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แต่นาฬิกาวินเทจที่เน้นความเรียบง่ายในยุคแรกๆ อย่าง Hommage Condottieri นั้นกลับเป็นที่สนใจ วันนี้ทาง Siam Watch Club จึงขอพาทุกท่านไปดูว่าทำไมนาฬิการุ่นนี้จึงเป็นที่ต้องการของบรรดานักสะสม

Read More »

จุดเริ่มต้น TAG Heuer สู่แบรนด์ในมือ Frédéric Arnault CEO ที่ทั่วโลกจับตามอง

TAG Heuer แบรนด์ในมือของ Frédéric Arnault CEO หนุ่มที่มีข่าวซุบซิบกับลิซ่า Blackpink

Share This Post

Subscribe To Our Newsletter

Get updates and learn from the best

More To Explore

omega speedmaster chronoscope olympic
บทความ

Omega นับถอยหลังสู่ Olympics Paris 2024 ด้วยการเปิดตัวนาฬิการุ่นพิเศษ

Omega นับถอยหลัง 100 วันสู่การแข่งขันกีฬา Olympics 2024 ที่กรุงปารีส ด้วยการเปิดตัวนาฬิการุ่นพิเศษ 2 รุ่นเพื่อฉลองโอกาสครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งทาง Siam Watch Club จะขอพาทุกท่านไปชมนาฬิกาทั้งสองรุ่นนี้กัน

Rolex Gen Z trend
บทความ

ตลาดนาฬิกา Rolex เปลี่ยนโฉม: คนรุ่น Gen Z ขับเคลื่อนเทรนด์ใหม่

รุ่นลุง รุ่นป้าเตรียมตัวหลีกทาง หนุ่มสาวรุ่น Gen Z พร้อมทุ่มเงินเพื่อเป็นเจ้าของนาฬิกาหรู Rolex วันนี้ Siam Watch Club จะนำรายงานการสำรวจเทรนด์การซื้อขายนาฬิกาหรูของหนุ่มสาว Gen Z ซึ่งกำลังจะกลายเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีอิทธิพลของแบรนด์ดังทั้งหลาย

Do You Want To Boost Your Business?

drop us a line and keep in touch