IWC Da Vinci ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งเวลา

เชื่อไหมว่าครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของโลกแห่งเวลา สิ่งที่เรียกว่า Perpetual Calendar ที่เราเห็นกันจนชินตาในนาฬิกาของยุคปัจจุบัน เคยเป็นสิ่งล้ำค่าที่ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลหากต้องการจะซื้อนาฬิกาที่มี Perpetual Calendar สักเรือน เพราะนอกจากมันจะเคยเป็นกลไกที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมากแล้ว การจัดวางชิ้นส่วนให้ครบองค์ประกอบเพื่อให้กลไกสามารถทำงานได้ ยังต้องใช้ศาสตร์และความชำนาญระดับสูงอีกด้วย โดยเฉพาะในยุคที่ไม่มีคอมพิวเตอร์และเซ็นเซอร์ช่วย ยังไม่นับรวมค่าซ่อมบำรุงที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก จึงไม่น่าแปลกใจเวลาว่าทำไมจึงมีแต่ชนชั้นสูงระดับขุนนางและราชวงศ์เท่านั้นที่ได้ครอบครองนาฬิกา Perpetual Calendar

Kurt Klaus who made Perpetual Calendar for IWC  Da Vinci

จนกระทั่ง Kurt Klaus หัวหน้าทีมวิศวกรของ IWC ได้ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงระบบปฏิทิน Perpetual Calendar ได้สำเร็จ ในปี 1985 ซึ่งการคิดค้นนี้จะช่วยให้นาฬิกาที่มี Perpetual Calendar สามารถบอกวันเวลาได้อย่างแม่นยำไปอีกหลายร้อยปี เรียกได้ว่าเป็นการค้นพบก้าวใหญ่ของประวัติศาสตร์แห่งโลกของเวลา Kurt Klaus จึงถูกขนานนามว่า ‘โพรมิธิอุสแห่งโลกเวลา’ นั่นเอง

“Stop with pocket watches, they are out of fashion. Now do the same in a wristwatch.”

อาจกล่าวได้ว่านี่คือประโยคเปลี่ยนโลกของ Hannes Pantli ผู้อำนวยการฝ่ายขาย IWC ที่พูดกับ Kurt Klaus หลังจาก Klaus และ IWC ได้ร่วมกันสร้างนาฬิกาพกที่สามารถดูข้างขึ้นข้างแรมได้ขึ้นมาจำนวน 100 ชิ้น และขายหมดในเวลาอันรวดเร็วจนเป็นประวัติการณ์ ในงาน Basel Fair ปี 1976

18 กันยายน 2023

ถือว่าเป็นคำพูดที่เป็นแรงจูงใจที่ดีในการพัฒนาต่อไป ในฐานะหัวหน้าทีมวิศวกรกลไกของ IWC Klaus ต้องการที่จะสร้างนาฬิกาข้อมือที่แตกต่าง ไม่ใช่เพียงนาฬิกาข้อมือที่ดูข้างขึ้นข้างแรมได้ หรือเป็นนาฬิกาข้อมือปฏิทินธรรมดา ๆ แต่ยุค 1980 ที่เทคโนโลยียังไม่ล้ำสมัยเท่าปัจจุบัน การคำนวณทั้งหมดจึงต้องผ่านการคิดโดยฝีมือมนุษย์

‘ตอนที่ผมสร้าง Perpetual Calendar ขึ้นมา ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคอมพิวเตอร์คืออะไร ผมก็เลยร่างภาพทั้งหมดลงบนกระดาษวาดภาพ แล้วก็ทำการคำนวณด้วยตัวผมเอง’
IWC Da Vinci's sketch
ด้วยความใส่ใจจากความหลงใหลในเรือนเวลาของ Klaus จึงกลายเป็นที่มาของกลไกขนาดเล็ก ใช้ชิ้นส่วนที่น้อยลง ทนต่อแรงสั่นสะเทือนได้ดี และแม่นยำในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ร่วมกับการออกแบบอันแยบยลของ Hano Burtscher ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากป้อมประจำการท่าเรือเมือง Piombio ที่ออกแบบโดย ลีโอนาร์โด ดาวินชี จึงกลายเป็นต้นกำเนิดของนาฬิกาข้อมือที่มาพร้อมฟังก์ชัน Perpetual Calendar ที่เรียกกันว่าคอลเลคชัน Da Vinci
IWC DaVinci Perpetual Calendar Chronograph Ref. 3750
IWC Da Vinci Perpetual Calendar Chronograph Ref. 3750

จากสมองอันปราดเปรื่องของโพรมิธิอุสแห่งโลกเวลา Ref. 3750 จึงถูกเปิดตัวมาในฐานะนาฬิกาเรือนแรกของคอลเคลชัน โดยปฏิทินของมันสามารถใช้งานได้ยาวนานถึง ค.ศ. 2499 และเป็นนาฬิการุ่นแรกที่สามารถปรับตั้งค่าผ่านเม็ดมะยมได้ทุกระบบ แตกต่างจากนาฬิกาสมัยก่อนที่ต้องใช้หลายปุ่ม

ด้วยความพิเศษในฐานะนาฬิกาที่บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไปของอุตสาหกรรมนาฬิกา ยอดสั่งจองของ Da Vinci 3750 จึงมียอดจองสูงกว่าทุกแบรนด์รวมกันตลอดเวลาสองปีหลังเปิดตัว
IWC DaVinci Perpetual Calendar Chronograph Ceramic Case Ref. 3755
IWC Da Vinci Perpetual Calendar Chronograph Ceramic Case Ref. 3755

IWC ยังคงทำการปฏิวัติอุตสาหกรรมนาฬิกาอย่างต่อเนื่อง เมื่อได้ทำการพัฒนาต่อยอดจาก Da Vinci รุ่นเดิมที่มียอดขายถล่มทลาย สู่วัสดุโฉมใหม่ด้วยการเลือกใช้ Diamond Ceramic มาใช้ผลิตนาฬิกา จนได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นนาฬิกาเซรามิกเรือนแรกของโลก จาก Zirconium Oxide ในรูปแบบเซรามิกครอบทับบนตัวเรือน 18K Yellow Gold ส่งผลให้ Da Vinci 3755 กลายเป็นนาฬิกาที่แข็งแรงและทนรอยขีดข่วนได้ดีที่สุดในยุคนั้น และยังเป็นอีกครั้งที่คอลเลคชัน Da Vinci ได้รับการตอบรับถล่มทลาย เมื่อยอดสั่งจองพุ่งสูงขึ้นกว่า 2,000 เรือน ถือว่าเป็นจำนวนที่มากกว่าทุกแบรนด์ของโลกรวมกันขณะนั้นก็ว่าได้
หลังจากนั้นกลไก Perpetual Calendar ก็ถูกพัฒนามาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันและถูกใส่ไว้ในนาฬิกา IWC รุ่นต่าง ๆ ที่ได้เป็นนาฬิกาต้นแบบให้แก่อุตสาหกรรมนาฬิกาทั่วโลก เพราะความรักและหลงใหลในเรือนเวลาของ IWC พวกเขาได้แบ่งปันการพัฒนากลไกให้กับแบรนด์อื่น ๆ นำไปใช้พัฒนาและต่อยอดได้ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่อุตสาหกรรมผลิตนาฬิกา ให้สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์แห่งกาลเวลา ท่านสามารถรับชมคอลเลคชัน IWC Da Vinci และนาฬิกา IWC ได้ที่ Siam Watch Club ร้านนาฬิกามือสอง ที่รวบรวมนาฬิกาแบรนด์หรูไว้จากทั่วทุกมุมโลกมากที่สุด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความนาฬิกาอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Other Blogs

สิ่งที่น่าสนใจใน Audemars Piguet Code 11.59 ที่จะทำให้คุณตกหลุมรัก

สิ่งที่น่าสนใจใน Audemars Piguet Code 11.59 ที่จะทำให้คุณตกหลุมรัก

แบรนด์นาฬิกาชั้นสูงจากสวิตเซอร์แลนด์ ที่มาพร้อมรูปทรงแปดเหลี่ยมเป็นเอกลักษณ์ นั่นคือ Audemars Piguet Royal Oak หนึ่งในคอลเลคชันที่ถือเป็นไอคอนที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกจดจำได้เป็นอย่างดี ถือเป็นรูปทรงที่เรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติวงการเรือนเวลา ซึ่งในขณะนั้นไม่ว่าแบรนด์ไหน ๆ ก็ยังยึดติดอยู่กับรูปลักษณ์ดั้งเดิม จนทำให้ในปัจจุบันไม่ว่าใครก็อย่างครอบครองนาฬิกาทรงแปดเหลี่ยมนี้ทั้งนั้น Royal Oak ได้สร้างภาพจำและมาตรฐานการดีไซน์ไว้ในระดับสูงลิ่ว จนใคร ๆ ต่างก็คาดหวังว่าคอลเลคชันต่อ ๆ ไปจะต้องมีลักษณะใกล้เคียงรูปแบบเดิม คือมีความทันสมัย แฝงความคลาสสิก จนกระทั่ง Audemars

Read More »
พาเจาะลึก Five time zone และ Jacob & Co แต่ละรุ่น

พาเจาะลึก Five time zone และ Jacob & Co แต่ละรุ่น

ถ้าพูดถึงนาฬิกาที่ถูกเปิดตัวด้วยราคาแพงที่สุด ในมหกรรมการจัดแสดงนาฬิกา Watches and Wonders 2023 คือนาฬิกาจาก Jacob & Co. คงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจสำหรับทุกคนเท่าไหร่ เพราะสำหรับ Jacob & Co. ถือเป็นแบรนด์ที่ขึ้นชื่อเรื่องความหรูหราและตระการตามากกว่าแบรนด์ไหน ๆ ดังนั้นการปรากฏตัวปแต่ละครั้ง มักจะเกิดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นในการแสดง Super Bowl ของ Rihanna หรือยามที่ปรากฏตัวอยู่บนพรมแดงสำหรับดาราฮอลลีวูด

Read More »
Longines Spirit จิตวิญญาณแห่งนักบุกเบิกที่คุณภาพพร้อมท้าชน

Longines Spirit จิตวิญญาณแห่งนักบุกเบิกที่คุณภาพพร้อมท้าชน

นาฬิกานักบินเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนแห่งจินตนาการ เพียงแค่สวมใส่ก็สามารถทำให้เราย้อนกลับไปยังยุค Flyboys ภาพนักบินเครื่องบินรบที่อยู่ในชุดแจ็กเก็ตบอมเบอร์ที่มีกลิ่นของหนังโชยออกมาเล็กน้อย แผงหน้าปัดคอนโทรลอันยุ่งเหยิง และเสียงคำรามของเครื่องยนต์ ความรู้สึกเหล่านี้สามารถถูกปลุกขึ้นได้ ด้วยนาฬิกาสมัยใหม่ที่จะพาคุณย้อนอดีตไปสู่ยุค Flyboys ด้วย Longines Spirit คอลเลคชัน Longines Spirit ถูกสร้างสรรค์ขึ้นตามประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของของเหล่านักบุกเบิก ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในอดีต ทุกคนล้วนเป็นบุคคลระดับตำนาน ไม่ว่าจะเป็น Amelia Earhart, Paul-Emile Victor, Elinor Smith

Read More »